
อ.พงค์ศักดิ์ (Admin)
2 ก.ย. 2566
AMI หรือ ทะเบียนราษฎร์ หมายถึงระบบที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลและข้อมูลส่วนบุคคลของประชากรในประเทศ เพื่อเป็นที่จดทะเบียนและรวบรวมข้อมูลสถิติประชากรที่สำคัญ ระบบนี้มักใช้ในการจัดทำทะเบียนราษฎร์ของประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศแต่ละประเทศ
AMI หรือ ทะเบียนราษฎร์ หมายถึงระบบที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลและข้อมูลส่วนบุคคลของประชากรในประเทศ เพื่อเป็นที่จดทะเบียนและรวบรวมข้อมูลสถิติประชากรที่สำคัญ ระบบนี้มักใช้ในการจัดทำทะเบียนราษฎร์ของประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศแต่ละประเทศ และมีวัตถุประสงค์หลักคือ:
บันทึกข้อมูลทะเบียนราษฎร์: ระบบ AMI ทะเบียนราษฎร์จะบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของประชากรทั่วไป เช่น ชื่อ, นามสกุล, ที่อยู่, วันเดือนปีเกิด, เพศ, สัญชาติ เป็นต้น โดยข้อมูลเหล่านี้จะนำไปใช้ในการสร้างทะเบียนราษฎร์ที่ครอบคลุมทั้งประชากรในประเทศ.
สร้างหมายเลขประจำตัวประชาชน: การลงทะเบียนในระบบ AMI ทะเบียนราษฎร์ช่วยในการสร้างหมายเลขประจำตัวประชาชนที่เป็นเลขที่ไม่ซ้ำกันสำหรับแต่ละบุคคล เพื่อใช้ในการแสดงตัวตนและการระบุตัวตนในหลายสถานการณ์ เช่น การเข้ารับบริการรัฐบาลหรือธุรกิจ.
การวิเคราะห์และวางแผน: ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ที่เก็บรวบรวมในระบบ AMI สามารถใช้ในการวิเคราะห์และวางแผนในหลายด้าน เช่น การวางแผนเพื่อรับบริการสุขภาพ, การวางแผนเพื่อการศึกษา, การวางแผนทางรัฐบาลและการเผยแพร่สถิติประชากร.
การตรวจสอบความถูกต้อง: ข้อมูลในระบบ AMI มักมีการตรวจสอบความถูกต้องและอัปเดตเป็นระยะเพื่อให้ข้อมูลยังคงเป็นปัจจุบันและถูกต้องตามสถานะประชากรในประเทศ.
การสนับสนุนการตรวจสอบและความปลอดภัย: ระบบนี้สามารถใช้ในการสนับสนุนการตรวจสอบความปลอดภัย และการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับประชากร.
ระบบ AMI ทะเบียนราษฎร์มีความสำคัญในการจัดการข้อมูลประชากรในประเทศและมีการนำมาใช้ในหลายส่วนของรัฐบาลและภาคเอกชน เพื่อการวางแผนและการให้บริการที่มีประสิทธิภาพต่อประชากร.
แนวทางการดำเนินการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐ
1. ให้สำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เป็นหน่วยงานกลางในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลประชาชนของส่วนราชการ (Population Information Linkage Center) และทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการข้อมูล (Gate Way) ตามที่ส่วนราชการร้องขอ
2. ให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ จัดทำฐานข้อมูลประชาชนของตนเองตามอำนาจหน้าที่ โดยใช้เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก เป็นดัชนีในการจัดเก็บข้อมูลและมีหน้าที่ปรับปรุงฐานข้อมูลให้ครบถ้วน ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน
3. ให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ ที่มีฐานข้อมูลประชาชนเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์กับสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง และจัดทำระบบให้บริการตรวจสอบข้อมูล (Services) เพื่อรองรับการอ่านข้อมูลประชาชน (Read Only) จากระบบคอมพิวเตอร์ของสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง
4. ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่ให้บริการประชาชนปรับปรุงระบบการบริการประชาชน เพื่อรองรับการใช้บัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ (Smart Card) และเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์กับระบบคอมพิวเตอร์ของสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เพื่อเรียกใช้ข้อมูลในการให้บริการประชาชนจากระบบฐานข้อมูลประชาชนของหน่วยงานต่าง ๆ ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ของสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง ทดแทนการใช้สำเนาเอกสาร

แนวทางการเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐ (Linkage Center)
1 แนวทางการขอรับบริการ
หน่วยงานระดับกรม
หน่วยงานทั่วไปที่สนใจใช้บริการ แต่ยังไม่มีข้อตกลงการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เน้นการใช้ข้อมูลจากบัตรประจำตัวประชาชน โดยใช้เครื่องอ่านบัตร (Smart Card Reader) ก่อน
หน่วยงานสามารถเรียกดูข้อมูลจากบัตรประจำตัวประชาชน และบันทึกข้อมูลดังกล่าวในรูปแบบดิจิทัลได้ ทดแทนการขอสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนจากผู้ขอรับบริการ
หน่วยงานสามารถจัดหาเครื่องอ่านบัตร (Smart Card Reader)
กรณีที่หน่วยงานสนใจเชื่อมโยงข้อมูลอื่น แบบออนไลน์ เช่น ข้อมูลทะเบียนราษฎร ข้อมูลนิติบุคคล
ให้ศึกษารายการข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงผ่านระบบ GDX ได้จาก https://gdx.dga.or.th/DataCatalog/Dictionary
หน่วยงานจำเป็นต้องทำหนังสือขอใช้ข้อมูลดังกล่าวจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเมื่อได้รับอนุมัติให้ใช้ข้อมูลแล้ว ให้แจ้ง สพร. เพื่อเปิดสิทธิในการใช้งานข้อมูลให้หน่วยงานเพิ่มเติม
หน่วยงานที่สนใจใช้ข้อมูลอื่นที่ยังไม่ได้อยู่ในรายการข้างบน ให้แจ้งช้อมูลที่ประสงค์จะเชื่อมโยง / หน่วยงานผู้รับผิดชอบข้อมูลดังกล่าว และ บริการ/ภารกิจที่หน่วยงานจำเป็นต้องนำข้อมูลนั้นไปใช้ ให้ สพร. เพื่อรวบรวม และเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวเข้าสู่ระบบ GDX ต่อไป
กรณีที่หน่วยงานมีข้อมูลที่สนใจเปิดให้หน่วยงาน/ประชาชนนำไปใช้ประโยชน์
กรณีเป็นข้อมูลเปิด / ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ ให้เชื่อมโยงเข้าระบบ data.go.th
กรณีเป็นข้อมูลที่ใช้เฉพาะในส่วนราชการ ให้แจ้งมาที่ สพร. เพื่อนัดหมายเข้าไปหารือต่อ่ไป
หน่วยงานส่วนภูมิภาค
ให้หน่วยงานส่วนกลางเป็นผู้ดำเนินการประสานขอเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านระบบ GDX
หากส่วนกลางได้ดำเนินการแล้ว ให้หน่วยงานส่วนภูมิภาคประสานขอสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลจากส่วนกลางต่อไป
หน่วยงานส่วนท้องถิ่น
ดำเนินการในลักษณะเดียวกับหน่วยงานระดับกรม

ขอสิทธิ์การใช้งานข้อมูลบุคคลจากบัตรประจำตัวประชาชน (Smart Card)เจ้าหน้าที่หน่วยงานไม่ต้องขอใช้สิทธิ์การใช้ข้อมูลจากกรมการปกครอง สามารถใช้งานได้ทันที
ขอสิทธิ์การใช้งานข้อมูลบุคคล Linkage Center อย่างไร
ทำหนังสือขออนุญาตการใช้ข้อมูลกับหน่วยงานเจ้าของข้อมูล
ทำหนังสือขออนุญาตเพื่อใช้งานข้อมูลบุคคล กับ สนง.ทะเบียนราษฏร์ กรมการปกครอง พร้อมแนบสำเนาหนังสือการอนุญาตให้ใช้ข้อมูลจากหน่วย่งานเจ้าของข้อมูล
ลงทะเบียน Super User Linkage Center ไปยัง สนง.ทะเบียนราษฏร์
เมื่อเจ้าหน้าที่หน่วยงานได้รับสิทธิ์ Super User Linkage Center แล้ว Super User สามารถลงทะเบียนและจัดการสิทธิ์ของเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เป็นผู้ใช้งานระบบ(User) ในหน่วยงานท่านเองได้ตามคู่มือในระบบ Linkage Management
หน่วยงานที่ต้องการใช้งานข้อมูลดังกล่าวต้องดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเก็บรักษา การตรวจสอบและควบคุมการเข้าใช้ข้อมูลทะเบียนราษฏรเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การแก้ไขปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้อง และการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ประโยชน์ข้อมูลจากฐานข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรในการปฏิบัติหน้าที่และการบริการภาครัฐของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการคุ้มครองและการจัดการข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร โดยเคร่งครัด ที่มา : Linkage Center
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statGRAPH/home.php